วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของการพูด

ความสำคัญของการพูด
             การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น
             ในทางพุทธศาสนา ได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10  สุภาสิตา  อยา  วาจาหมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต
              ... คึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้ชี้ถึงความสำคัญของการพูดไว้ในเรื่อง  การพูดสมบัติพิเศษของมนุษย์  ดังนี้
              ในการเสนอแผนการหรือนโยบายนั้น  บุคคลผู้เสนอจะต้องอาศัยปากอันเป็นเอก หรือการพูดที่ดีเป็นสำคัญ  หากพูดดีแล้วก็ย่อมได้รับการสนับสนุนร่วมมือโดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่าพูดไม่ดี  เป็นต้นวาขาดการใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้อง  หรือขาดสำนวนโวหารอันควรฟัง ลำดับเหตุผลไม่ถูกต้อง ไม่รู้จิตวิทยาชุมชน หรือ ลุแก่โทสะ โมหะ  อย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างที่พูดแล้ว แผนการหรือนโยบายที่ตั้งในจะเสนอนั้น ก็จะล้มเหลวเสียตั้งแต่แรก เพราะขาดผู้สนใจ ขาดผู้สนับสนุน ประโยชน์ที่ควรจะเกิดก็ไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ในการพูด
                        1.      เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2.      เพื่อสร้างความเข้าใจ
3.      เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4.      เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5.      เพื่อบรรยากาศที่ดี

โอกาสในการพูด
1.      การพูดต่อที่ชุมชน
2.      การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3.      การสอน การบรรยาย
4.      การนำเสนอ
5.      การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6.      การพูดจูงใจ
7.      การประชุม

แบบในการพูด
-          ท่องจำ
-          อ่านจากร่าง
-          พูดตามหัวข้อ
-          พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)

องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
            องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1.      ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
-          บุคลิกลักษณะ
-          การเตรียมตัว
2.      เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
-          การรวบรวมข้อมูล
-          การสร้างโครงเรื่อง
-          การใช้ถ้อยคำภาษา
-          การใช้สื่อ
-          การทดสอบความพร้อม
3.      ผู้ฟัง
-          วิเคราะห์ผู้ฟัง  เพื่อเตรียมตัวพูด

บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
            ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1.      รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่าง
น้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
-          ความสะอาด
-          ความเรียบร้อย
-          การจัดให้ดูดี
2.      การแต่งกาย
ไก่งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง    ยังคงใช้ได้       สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี  จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
                        การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
-          รูปร่าง
-          วัย
-          โอกาส
-          เวลา
-          สถานที่
-          การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
-          การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
-          ความสุภาพ
3.      น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา  หรือดังเกินไป  โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง  รู้จักใช้เสียง
หนัก  เบา  มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด    มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4.      สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด  พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สี
หน้าต้องโกรธ  พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง  พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ  ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
           
5.      สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ   ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร  ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตา
ผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง

6.      ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว

7.      ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะ
ไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น  ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด  วิเคราะห์ผู้ฟัง  เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า

8.      ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า ผู้พูด
ต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง  นั่นหมายความว่า  หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง

9.      อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องการความ
สนุกสนานด้วย  หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง  ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น

10.  ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น  การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลาย
สถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้

การเตรียมตัวในการพูด
                        ปัจจัยสำคัญของนักพูดที่ประสบความสำเร็จก็คือ    การเตรียมตัว  การเตรียมตัวเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ผู้พูดพึงตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้  มักจะเคยเห็นกันอยู่เสมอว่านักพูดบางคนเตรียมตัวมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นเวทีพูด ก็ยังเกิดความผิดพลาดและความล้มเหลวอยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเตรียมนั้นยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง

                                                การเตรียมตัวที่ดีและถูกต้อง
                                                ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จในการพูด
                                                สามารถทำให้พูดแล้วจับใจผู้ฟังได้

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

         เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
         เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
         โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
         นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน



         โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มา www.ilearn.in.th)
         ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
         E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ 
   รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
        4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
           สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การออกแบบการจัดการเรียนการสอน

การออกแบบการจัดการเรียนการสอน

            จากหลักการเรียนรู้และหลักการสอนดังกล่าวข้างต้น  สามารถนำมาเป็นหลักการพื้นฐานในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการการเรียนการสอนไว้มากมาย  แต่การออกแบบการจัดการการเรียนการสอนที่น่าจะมีประสิทธิภาพสูงและบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ได้อย่างดี  คือ  การออกแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  ซึ่งแสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบการออกแบบการจัดการเรียนการอสน  ดังแผนภูมิต่อไปนี้
   วิธีการสอน  กิจกรรมการเรียนการสอน  และเทคนิคการสอน
            จากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้นำเสนอข้างต้น  จะเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญที่ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจน  และสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ
1.                   การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
2.                   การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้
3.                   การกำหนดรูปแบบการสอน
4.                   การเลือกวิธีการสอน  /  เทคนิคการสอน
5.                   การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
6.                   การกำหนดวิธีการจัดและประเมินผล
การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และการกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในเรื่องการวางแผนการสอน   ส่วนรูปแบบการสอนได้นำเสนอรายละเอียดไว้ข้างต้นแล้ว

วิธีการสอน
ดังได้กล่าวแล้วว่า  วิธีการสอนหมายถึง  วิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบบรรลุจุดมุ่งหมาย    โดยทั่วไปได้จัดแบ่งวิธีการสอนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ  วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และวิธีการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งแสดงวิธีการสอนในแต่ละกลุ่มดังแผนภูมิต่อไปนี้

การสอนเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง
1.                  การสอนเพื่อให้เกิดวามรู้ความเข้าใจ  Klausmier and Hooper   ได้เสนอหลักการสำหรับการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ไว้ว่า  ความรู้  ความเข้าใจ  มี 4 ระดับ  คือ
1)          ระดับของการนึกภาพได้
2)          ระดับของการกำหนดได้
3)          ระดับของการจัดเข้าหมวดหมู่ได้
4)          ระดับของการอธิบายได้
การสอนเพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจมี  4  ขั้นตอน  คือ
1)          ระบุจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน
2)          สำรวจความรู้พื้นฐานของผู้เรียน  ว่ามีเพียงพอหรือไม่  มีพัฒนาการในระดับใด
3)          เสนอนิยามและตัวอย่างได้แก่
3.1)     นิยามคุณลักษณะ  โดยการระบุคุณลักษณะที่สำคัญทั้งหมด  ทำให้คุณลักษณะที่ถูกต้องเด่นออกมา  จัดให้คุณลักษณะที่คล้ายคลึงอยู่ด้วยกันเพื่อลดจำนวน  ใช้สิ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดี  ใช้สิ่งที่ไม่ใช่ตัวอย่างมาช่วยในการสรุปความ  ให้ข้อกำหนดและการปฏิบัติ  และแสดงตัวอย่างที่ไม่คุ้นเคยและแปลกใหม่
3.2 ให้ความคิดรวบยอด   โดยการให้คำจำกัดความเชิงวาจา  และตรวจสอบความถูกต้อง
3.3 ให้ผู้เรียนใช้ถ้อยคำของตนเอง
3.4  สาธิตการใช้ความคิดรวบยอด
4.  ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ  และผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับ  โดย
4.1 ตั้งคำถามด้วยข้อความอื่น ๆ  เพื่อทดสอบความรู้  ความเข้าใจ
4.2   ตั้งคำถามเพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจกฎ  และหลักการหรือไม่  หากเข้าใจ  ผู้เรียนต้องสามารถระบุความสัมพันธ์ของสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว  ซึ่งทำให้เขาสามารถ  ทำนายผลที่จะเกิดขึ้นได้ควบคุมสถานการณ์ได้   อธิบายสาเหตุได้   แก้ปัญหาได้  และอุปนัยสาเหตุได้

กฎแห่งกรรม

กฎแห่งกรรม

                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

                เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

                เรื่องนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง แต่ที่คนส่วนมากยังลังเลหรือเข้าใจผิดไปบ้างก็เพราะความสลับซับซ้อนของกรรมและการให้ผลของมัน การได้ดีหรือได้ชั่วนั้น ถ้าเอาวัตถุภายนอกเป็นเครื่องตัดสินก็ลำบากหน่อย ต้องรอคอยบางทีขณะที่กำลังรอคอยอยู่นั้น ผลของกรรมอื่นแทรก แซงเข้ามาเสียก่อน ยิ่งทำให้ผู้ทำกรรมซึ่งกำลังรอคอยผลอยู่นั้นงงและไขว้เขวไปใหญ่
               

กรรมจัดตามแรงหนักเบามี 4

    1.       ครุกรรม กรรมหนัก ฝ่ายดีหนมายถึงฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล ฝ่ายชั่วหนมายถึงอนันตริกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสงฆ์ผู้สามัคคีกันให้แตกกัน
     2.       อาติณณกรรมหรือพหุลกรรม กรรมที่ทำจนเคยชินหรือทำมาก ทำสม่ำเสมอ กรรมนี้จะให้ผลยั่งยืนมาก
    3.       อาสันนกรรม- กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต มีอาจภาพให้บุคคลไปสู่สุคติหรือทุคติได้ ถ้าเขาหน่วงเอากรรมนี้เป็นอารมณ์ เมื่อจวนตาย
     4.       กตัตตากรรมหรือตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือทำโดยไม่เจตนา

กรรมจัดตามกาลที่ให้ผลมี 4
     1.       ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม- กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
     2.       อัปัชชเวทยีกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไปถัดจากชาติปัจจุบัน
    3.       อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลหลังจาก อุปัชชเวทนียกรรม คือ ให้ผลเรื่อยไปสบโอกาสเมื่อใด ให้ผลเมื่อนั้น
    4.       อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล เลิกแล้วต่อกัน

กรรมจัดตามหน้าที่มี 4

   1.       ชนกกรรม กรรมที่ก่อให้เกิดหรือส่งให้เกิดในกำเนิดต่าง ๆ เปรียบเสมือนมารดาของทารก ชนก - กรรมนี้เป็นผลของอาจิณณกรรมบ้างของอาสันนกรรมบ้าง
    2.       อุปถัมภกกรรม กรรมอุปถัมภ์ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงนางนม มีทั่งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี
    3.       อุปิฬกกรรม กรรมบีบคั้น มีหน้าที่บีบคั้นกรรมดีหรือชั่วให้เพราะลง
    4.       อุปฆาตกรรมหรืออุปัจเฉทกรรม กรรมตัดรอน มีหน้าที่ตัดรอนกรรมทั่งฝ่ายกุศลและอกุศล

ภาษากับความหมาย

ภาษากับความหมาย

            ความหมายอาจจะแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ ความหมายโดยตรง (denotation) กับความหมายโดยนัย (connotation)
            ความหมายโดยตรงหมายถึงความหมายที่เชื่อมตรงกับสิ่งที่อ้างถึง เป็นความหมายที่เจ้าของภาษารู้ และใช้โดยทั่วไป เช่น คน ผู้ชาย ผู้หญิง พ่อ แม่ ลูก โต๊ะ เก้าอี้ หมา แมว ปริญญา รัฐมนตรี มหาวิทยาลัย ฯลฯ
            ความหมายโดยนัยหมายถึงวามหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง ที่เจ้าของภาษาซึ่งอยู่ในสังคมเดียวกันยอมรับ
            ตัวอย่างต่อไปนี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างประโยคที่มีความหมายโดยตรงกับความหมายโดยนัย
            ความหมายโดยตรง                                                          ความหมายโดยนัย
(1) . บ้านฉันเลี้ยงหมาไว้ 2 ตัว                                        . บ้านนี้มีแต่คนใจหมา
(2) . ฉันกำลังมองหาเก้าอี้ใหม่                                        . เขากำลังมองหาเก้าอี้รัฐมนตรี
(3) . บัณฑิตใหม่เข้ารับพระราชทานปริญญา                     . เขาเป็นคนระดับปริญญาชน
(4) . เขาเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย             . เขามีเลือกสีชมพู
(5) . เขาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                  . เขาเป็นลูกแม่โดม

            นอกจากเรื่องความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยแล้ว คำในแต่ละภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วยก็ยังมีความหมายแฝงและความหมายอุปมาอีกด้วย
            ความหมายแฝง คือ ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ และรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้นๆ เป็นความหมายเงาๆ ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำ ถ้าไม่พิจารณาให้ดีก็อาจจะไม่เห็น ถึงเห็นแล้ว จะแยกออกมาเป็นความหมายรองอีกความหมายหนึ่งก็ได้ความหมายแฝงมักจะปรากฎในคำกริยาและคำขยาย
            ตัวอย่างเช่น ฟูมีความหมายแฝงว่า พองขึ้น อูดขึ้น” “ดิ่งมีความหมายแฝงว่า ตกลงมา
            ส่วนคำอุปมาคือคำใช้เปรียบเทียบ มักใช้เมื่อจนคำที่ต้องการใช้พรรณนาบอกลักษณะ หรือบางทีมีคำที่พอจะบอกลักษณะได้ แต่ยังอยากให้ผู้อ่านผู้ฟัง ได้เห็นลักษณะถนัดชัดเจนขึ้นอีกจึงหาคำมาเปรียบ คำที่ใช้เปรียบนั้น ส่วนมากก็เป็นคำนามที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
            ตัวอย่างเช่น ลิงหมายความว่า ซนอยู่ไม่สุข เหมือนลิง” “ควายหมายความว่า โง่ ทึ่ม ให้คนจูงจมูกได้ง่าย
            จะเห็นได้ว่า ความหมายโดยนัยหรือความหมายแฝงนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ภาษาในสังคมเดียวกันตกลงร่วมกันจึงจะนำมาใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคนไทยนำคำค่าซึ่งมีคำว่า หมาปะปนอยู่ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยตรง เพื่อใช้ตำหนิผู้ใช้ภาษาอังกฤษ เขาย่อมจะไม่เข้าใจ เช่นเดียวกับที่เรานำคำจากภาษาอังกฤษ เช่น “skunk” มาตำหนิคนไทย คนไทยก็ย่อมจะไม่เข้าใจเช่นกัน
            นอกจากเรื่องของความหมายแล้ว เรื่องเสียงในภาษาก็สำคัญไม่น้อย เสียงกับความหมายย่อมจะต้องไปด้วยกัน คำที่ใช้อยู่ในภาษาจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจ และมีเสียงอยู่ในระบบเสียงของภาษานั้นๆ อันเป็นเสียงที่ผู้พูดจะออกเสียงได้ถนัดเพราะคุ้นเคย แต่ถ้านำคำที่ใช้ในภาษาไทยมาพิจารณาดูจะเห็นว่าสระบางเสียงที่มากับตัวสะกดบางเสียงมีคำใช้น้อย บางเสียงไม่มีคำใช้เลย และบางเสียงมีไว้บันทึกคำภาษาต่างประเทศเท่านั้น ทั้งๆ ที่เสียงสระเหล่านั้นเป็นเสียงไม่มีในระบบเสียงของภาษาไทย และตัวสะกดทั้ง 8 แม่ก็ไม่ได้กำหนดว่าจะมากับสระใดได้ มากับสระใดไม่ได้ จะว่าออกเสียงนั้นๆ ไม่ได้ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้ามีกำหนดไว้ในระบบเสียงต้องถือเป็นเสียงที่คนใช้ภาษาเดียวกับออกเสียงได้ การที่ไม่มีเสียงนั้นกำหนดเป็นคำที่มีความหมายใช้ในภาษาจึงกล่าวได้เพียงว่าเสียงนั้นๆ ไม่เป็นที่นิยม ส่วนที่ว่าเหตุใดจึงไม่เป็นที่นิยมนั้นเป็นเรื่องที่อธิบายได้ยาก

การเปลี่ยนแปลงเสียง
            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า โสงปัจจุบันใช้ว่า สองเช่น
            ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง
            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า โอยปัจจุบันใช้ว่า อวย” (หมายถึง ให้”) เช่น
            เมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน

การเปลี่ยนแปลงคำ
            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า ตูปัจจุบันใช้ว่า เราเช่น
            ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง
            คำว่า ตูนี้ ในสมัยสุโขทัยเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ หมายถึง เราซึ่งเป็นฝ่ายผู้พูดไม่รวมผู้ฟังแต่ในสมัยปัจจุบัน คำว่า เราหมายถึง คำใช้แทนชื่อคนหลายคนซึ่งรวมทั้งผู้พูดด้วย
            ในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า กูแต่ปัจจุบันทรงใช้ว่า ข้าพเจ้าเช่น
            พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง
            ในสมัยก่อนคำที่หมายถึง คนรักใช้ว่า ชิ้นแต่ในปัจจุบันใช้ว่า แฟน

การเปลี่ยนแปลงประโยค
            ในสมัยสุโขทัยใช้ว่า พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทังกลมประโยคนี้อาจะเขียนใหม่ตามลักษณะประโยคปัจจุบันได้ว่า พี่ข้าพเจ้าตาย ข้าพเจ้าจึงได้เมืองทั้งหมด
            จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า การแปรของภาษาในด้านเสียง คำ และประโยคนั้นไม่มีผลทางด้านความหมายมากนัก แต่จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ใช้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับความหมายมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงในด้านคำ

การแปรเสียง

            คำซึ่งใช้สื่อสารกันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นในทางสัทศาสตร์าอาจจะมีการแปรเสียงได้หลายแบบ ดังนี้
) การแปรเสียงแบบกลมกลืนเสียง (assimilation)
            การแปรเสียงแบบนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเสียงลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเสียงที่อยู่ใกล้กัน โดยเสียงหนึ่งมีอิทธิพลต่ออีกเสียงหนึ่ง โดยทั่วไปเกิดขึ้นที่ช่วงต่อระหว่างพยางค์ เช่น อย่างไร กลายเป็น ยังไง
            การกลมกลืนเสียงในทำนองนี้ยังปรากฏในคำไทยอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น
            ก้นโค้ง              กลายเป็น           ก้งโค้ง
            กุ้งก้ามคราม        กลายเป็น           กุ้มก้ามกราม
            คนไร                กลายเป็น           ใคร
            ถ้วยชามรามไห   กลายเป็น           ถ้วยชามรามไหม
            ทำไร                 กลายเป็น           ทำไม
            บังโคลน            กลายเป็น           บังโกลน
            พรุ่กนี้               กลายเป็น           พรุ่งนี้
            ฝ่ายเดียว            กลายเป็น           ถ่ายเดียว
            วันยันค่ำ            กลายเป็น           วันยังค่ำ
            สิบเอ็ด               กลายเป็น           สิบเบ็ด
            หนไร                กลายเป็น           ไหน
            หรือไม่              กลายเป็น           ไหม
            อกตรม              กลายเป็น           อกกรม
            อันคั่นคู่             กลายเป็น           อังคั่นคู่
            อิ่มปี้พีมัน           กลายเป็น           อิ่มหมีพีมัน

) การแปรเสียงแบบผลักเสียง (dissimilation)
         การแปรเสียงแบบนี้เป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับการกลมกลืนเสียง คือการทำให้เสียงที่เหมือนกับแตกต่างกัน เช่น
            คำแหง              กลายเป็น           กำแหง
            คุมเหง               กลายเป็น           กุมเหง
            ทั้งนี้เพราะเสียง [] ในพยางค์ที่สองผลักเสียง [] ในพยางค์แรกให้หายไป
            พยัญชนะอย่าง ข ค ฉ ช ถ ท ผ พ มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย จึงเรียกว่า พยัญชนะเสียงหนัก พยัญชนะเหล่านี้แตกต่างจากพยัญชนะอย่าง ก จ ต ป ตรงที่ว่า พยัญชนะกลุ่มหลังนี้เวลาออกเสียงไม่ต้องหายใจแรงๆ อย่างพวกแรก ถือว่าเป็นพยัญชนะเสียงเบา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข ค คือ ก + ห ฉ ช คือ จ +   ถ ท คือ ต + ห และ ผ พ คือ ป + ห เมื่อการออกเสียงพยัญชนะเสียงหนักดังกล่าวต้องหายใจแรง บางทีการออกเสียงจึงฟังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อพูดตามสบายเป็นต้นว่า
            การออกเสียงพยัญชนะเสียงหนักเป็นเสียงเบา
                        ชมพู                 ออกเสียงเป็น      จมพู
                        ชมพู่                 ออกเสียงเป็น      จมพู่
                        ข่มเหง               ออกเสียงเป็น      กุมเหง
                        คุมฝอย              ออกเสียงเป็น      กุมฝอย
            ออกเสียงแต่ ห พยัญชนะเสียงเบาหายไป
            ครับ                  ออกเสียงเป็น      ฮะ
            ที่กลับกันก็มีคือ
                        กี่                      ออกเสียงเป็น      ขี่
                        กบฎ                  ออกเสียงเป็น      ขบถ
                        ชักกะเย่อ           ออกเสียงเป็น      ชักคะเย่อ
                        กระยาสารท       ออกเสียงเป็น      คยาสาด

) การแปรเสียงแบบลดหน่วยเสียง (haplology)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการตัดเสียงพยัญชนะหรือสระบางเสียงออกไปหรือนำเสียงอื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อไม่เน้นเสียงพยางค์นั้น เช่น
            คำว่า film จากภาษาอังกฤษ เมื่อมาสู่มาภาษาไทย คนไทยออกเสียง [lm] ควบกันไม่ได้จึงทำเสียง [อิ] ให้ยาวขึ้น กลายเป็น [อี] ออกเสียงเป็น [ฟีม]
            ฉันนั้น              ออกเสียงเป็น      ฉะนั้น
            ต้นไคร้              ออกเสียงเป็น      ตะไคร้
            ตัวขาบ               ออกเสียงเป็น      ตะขาบ
            ยับยับ                ออกเสียงเป็น      ยะยับ
            ยายกับตา           ออกเสียงเป็น      ยายกะตา
            รื่นรื่น                ออกเสียงเป็น      ระรื่น
            สายดือ               ออกเสียงเป็น      สะดือ
            หมากขาม           ออกเสียงเป็น      มะขาม
            อันไร                ออกเสียงเป็น      อะไร
            อีกประการหนึ่ง  ออกเสียงเป็น      อนึ่ง

) การแปรเสียงแบบเพิ่มหน่วยเสียง (addition of phonemes)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการนิยมความไพเราะในการออกเสียงคำสามพยางค์จากภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งแพร่มาถึงคำในภาษาไทยด้วย คำสองพยางค์จึงกลายเป็นสามพยางค์ โดยการนำเอาเสียงสะกดในพยางค์แรกเป็นเสียงพยัญชนะต้นตามด้วย [อะ] เป็นพยางค์ที่สองเติมเข้าไป เช่น
            ซังตาย               ออกเสียงเป็น      ซังกะตาย
            สักเดี๋ยว             ออกเสียงเป็น      สักกะเดี๋ยว
            ตกใจ                 ออกเสียงเป็น      ตกกะใจ หรือต๊กกะใจ
            นกยาง               ออกเสียงเป็น      นกกะยาง
            นัยนี้                  ออกเสียงเป็น      นัยยะนี้
            บาดจิต               ออกเสียงเป็น      บาดทะจิต
            บานโรค                        ออกเสียงเป็น      บานทะโรค
            ยมบาล               ออกเสียงเป็น      ยมพบาล
            สักนิด               ออกเสียงเป็น      สักกะนิด
            สักหน่อย           ออกเสียงเป็น      สักกะหน่อย
            หกล้ม                ออกเสียงเป็น      หกกะล้ม

) การแปรเสียงแบบสับเสียง (meththesis)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการสับที่ของหน่วยเสียงกับเสียงที่ตามมา เช่นตะกร้อ สับเสียง เป็น กระต้อ เครื่องมือดับไฟมีด้ามยาวเช่นเดียวกับตะกร้อสอยผลไม้ตะกรุด สับเสียงเป็น กระตรุด หรือ กะตุด มะละกอ สับเสียงเป็น ละมะกอ พูดแถบตำบลเกาะเกร็ดและบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด นนทบุรี นุ่ม สับเสียงเป็น มุ่น พบในวรรณคดีไทย ขลา ในภาษาเขมร หมายถึง เสือสับเสียงเป็น ขาล หมายถึง ปีนักษัตรที่มีเสือเป็นเครื่องหมาย สาวสะ ใน แม่ศรีสาวสะ ก็น่าจะเป็นการสับเสียงจาก สะสาว ซึ่งเป็นการซ้ำคำ สาวสาว แล้วก่อนเป็น สะสาว

) การแปรเสียงแบบทำให้เป็นเสียงที่เพดานแข็ง (palatalization)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงจากมีฐานที่ปุ่มเหงือกไปยังฐานที่เพดานแข็งในคำบางคำในภาษาไทย เช่น เชียว มาจาก ทีเดียว
            ขอให้สังเกตว่าคำว่า ทีเดียว นี้ บางครั้งก็กลายเป็น เทียว ในลักษณะกลมกลืนเสียง

) การแปรเสียงแบบเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ (internal change)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในคำ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะและเสียงสระ เช่น
            ข้างนอก            ออกเสียงเป็น      หั้งนอก
            เข้ามาเถิด           ออกเสียงเป็น      ข้ามาเหอะ
            คึก                    ออกเสียงเป็น      ฮึก
            ทั้งสามกรณีเป็นการลดส่วนของเสียงพยัญชนะให้เหลือไว้แต่เสียงหนัก [] ในภาษาไทยนั้นเมื่อคำหรือพยางค์ใดไม่ออกเสียงเน้น เสียงของสระนั้นก็อาจจะเปลี่ยนเป็น [อะ] เช่น
            คุณจะไปไหม     ออกเสียงเป็น      คุณจะไปมะ
            ตั้งแต่เช้า            ออกเสียงเป็น      ตั้งตะเช้า
            เมื่อแต่กี้             ออกเสียงเป็น      เมื่อตะกี้

) การแปรงเสียงแบบเสียงเลื่อนรวม (fusion)
            การแปรเสียงแบบนี้เกิดจากการที่พยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าเลื่อนรวมเข้ากับเสียง [] ของคำถัดไป เช่น หนวกหู กลายเป็น หนวกขู โดยที่ [] ซึ่งเป็นเสียงสุดท้ายของ หนวก รวมเข้ากับ [] ในคำว่า หู เกิดหน่วยเสียงใหม่ขึ้น นั่นคือ ค หรือ ข
            ขอให้สังเกตว่า หนวกขู อาจจะเปลี่ยนไปเป็น หนกขู เพราะการเปลี่ยนเสียงสระภายในคำดังกล่าวไว้ในข้อ ช) ก็ได้
            จากลักษณะการแปรเสียงที่กล่าวไว้ในข้อ ก) ถึง ซ) ทำให้อธิบายปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้ได้ดังนี้
            ดิฉัน แปรเสียงเป็น ดิชั้น (เน้นพยางค์หลัง) และในที่สุดก็กลายเป็น เดี๊ยน เพราะการลดหน่วยเสียง โดยที่เสียง [] หายไป ทำให้สระจากพยางค์หน้าและพยางค์หลังรวมกันเป็นสระผสมในกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น ดั้น ไปนั้นก็เกิดจากการลดหน่วยเสียงเช่นกัน โดยที่สระหน้าหายไปพร้อมกับเสียง [] และกรณีที่ ดิฉัน กลายเป็น อะฮั้น นั้นก็เกิดจาการลดเสียงพยางค์หน้าลงเหลือ อะ และลดเสียงลมหายใจของพยางค์หลัง ฉัน หรือ ชั้น จึงกลายเป็น ฮั้น
            ครับ แปรเสียงเป็น คับ เนื่องจากไม่ออกเสียงควบกล้ำ จากนั้นลดเสียงลมหายใจออกไปจึงกลายเป็น ฮับ และลดเสียงตัวสะกดลงไปอีกจึงกลายเป็น ฮะ สำหรับคนบางกลุ่มอาจจะยืดเสียงให้ยาวขึ้น จึงกลายเป็น ฮ้า
            มหาวิทยาลัย ลดเสียงลงไปกลายเป็น มหาทลัย (4 พยางค์) หรือ มหาลัย (3 พยางค์) จนที่สุดกลายเป็น หมาลัย (2 พยางค์)
            โรงพยาบาล ลดเสียงลงไปกลายเป็น โรงพยาบาล (3 พยางค์)
            พิจารณา ลดเสียงลงไปกลายเป็น พิณา (2 พยางค์)

การเปลี่ยนแปลงคำ

                จากการแปรเสียงที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นจะเห็นไว้ คำที่ออกเสียงได้หลายอย่างนั้น บางคำก็ยังใช้ควบคู่กันอยู่ โดยขึ้นอยู่กับผู้พูด ผู้ฟัง และสถานการณ์การใช้ภาษา แต่บางคำก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นคำที่ใช้อยู่ในสมัยปัจจุบัน ส่วนคำเดิมก็กลายเป็นคำโบราณที่เลิกใช้แล้ว หรือคำสันนิษฐาน เช่น อิ่มปี้พีมัน กุ้มก้ามคราม ทำร วันยันค่ำ อันคั่นคู่ พรุ่กนี้ ก้นโค้ง คนไร หนไร ตัวขาบ สายดือ ต้นไคร้ หมากขาม อันไร เมื่อแต่กี้ ฯลฯ
            การแปรเสียงที่ทำให้เกิดคำใหม่ยังคงปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ เช่น
            กระโปรง + กางเกง                     กลายเป็น           กระเปรง
            ขว้าง + เหวี่ยง                กลายเป็น           เขวี้ยง
            งง + เซ็ง                        กลายเป็น           เซ็ง
            ฉุย + ลุย                        กลายเป็น           ฉลุย
            เชียร์ + เลีย                     กลายเป็น           ชเลียร์ หรือ เชลียร์
            ซีเรียส + เครียด               กลายเป็น           ซีเครียด
            เดี๋ยว + พ่อ + เตะ            กลายเป็น           เดี๋ยวพ่อด
            นี่ + นะ                         กลายเป็น           เนี่ยะ
            นิ้ง + เฉียบ                     กลายเป็น           เนี้ยบ
            แม่ + มึง                        กลายเป็น           แม่ง